นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้จัดทำดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทยครั้งแรกในโลก พบว่า ช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 65-69) ดัชนีมีค่าเท่ากับ 51, 54, 57, 55 และ 60 ตามลำดับ ชี้วัดว่า ทุเรียนไทยมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากค่าดัชนีมากกว่า 50 หมายถึง ความเสี่ยงสูง แต่ถ้า 50 หมายถึง ปกติ และน้อยกว่า 50 หมายถึง เสี่ยงน้อย โดยพบว่า 10 ความเสี่ยงที่จะพังมากกว่าปัง ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเฝ้าระวัง คือ การเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอย่างมหาศาลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือในปี 64 เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าจากปี 54 เพิ่มจากกว่า 600,000 ไร่ เป็นกว่า 900,000 ไร่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออก ที่โค่นต้นยางพาราเพื่อปลูกทุเรียน
นอกจากนี้ประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก และมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะเข้ามาแย่งส่วนตลาดส่งออกของไทยได้ แม้คาดว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือในปี 69 ไทยจะยังครองแชมป์ส่งออกทุเรียนอันดับ 1 ของโลกด้วยปริมาณ 1.9 ล้านตัน แต่ส่วนแบ่งตลาดอาจลดลงเหลือ 76% จากปัจจุบันที่ 85% โดย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว จะมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นทั้งหมดคำพูดจาก รวมสล็อตทดลองเล่น
ขณะเดียวกันหากความสัมพันธ์กับจีนมีปัญหา อาจทำให้จีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าทุเรียนอันดับ 1 ของไทย และนำเข้ากว่า 90% ของการส่งออกทุเรียนไทยไปโลก ซึ่งปี 65 คาดนำเข้า 850,000-950,000 ตัน ลดการนำเข้าลงได้ และจะทำให้ราคาทุเรียนไทยลดลงทันที รวมทั้งยังมีปัญหาความเสี่ยงจากคุณภาพทุเรียนที่อ่อนหรือแก่เกินไป, ปัญหาทุเรียนประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิทุเรียนไทยแล้วส่งออก, ปัญหาการขนส่ง ขาดแคลนแรงงาน, ตลาดถูกควบคุมโดยล้ง, สภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อต่อผลผลิต และโรคระบาด ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้ ทำให้คาดว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ทุเรียนไทยมีโอกาสพังได้ 30% จาก 100% หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 37,000 ล้านบาท จากมูลค่าส่งออกปัจจุบันที่ 200,000 ล้านบาท
“ตั้งแต่ปี 64 เป็นต้นมา มูลค่าส่งออกทุเรียนของไทยสูงกว่ามูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ ทั้งข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง โดยทุเรียน มูลค่าอยู่ที่ 187,278 ล้านบาท ขณะที่ข้าว อยู่ที่ 100,477 ล้านบาท ยางพารา อยู่ที่ 91,430 ล้านบาท และมันสำปะหลัง 43,103 ล้านบาท มีเงินสะพัดในประเทศในห่วงโซ่การผลิตทุเรียนทั้งระบบ ทั้งเกษตรกร ล้ง แรงงาน โลจิสติกส์ ค่าบรรจุภัณฑ์ สูงถึง 640,000 ล้านบาท ส่วนปี 65 คาดจะมีมูลค่าส่งออก 200,000 ล้านบาท และมีเงินสะพัดในประเทศ 700,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% หรือ 60,000 ล้านบาท จากปี 64”
ทั้งนี้หากต้องการให้ทุเรียนไทยยังคงปัง ไทยต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน ควบคุมคุณภาพการส่งออกให้ดี ไม่ให้เกษตรกรตัดทุเรียนที่อ่อน หรือแก่เกินไป ช่วยทำให้จีน ซึ่งเป็นตลาดสำคัญ เพิ่มการนำเข้าจากไทยได้ จากปัจจุบัน ที่ชาวจีนบริโภคทุเรียนเพียง 9% ของประชากรทั้งประเทศ แสดงให้เห็นว่า ยังมีโอกาสอีกมากสำหรับการส่งออกทุเรียนไปจีน ขณะเดียวกัน ไทยต้องมีแผนบริหารจัดการทุเรียนที่แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ เช่น ปริมาณผลผลิต ปริมาณการส่งออก-บริโภคในประเทศ ข้อมูลด้านต่างๆ ของคู่แข่ง เป็นต้น