การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (NSDF), คณะกรรมการกีฬามวย, สมาคมกีฬามวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ, สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย และสหพันธ์สมาคมมวยไทยนานาชาติ (IFMA) ร่วมกันจัดโครงการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ศิลปะมวยไทยสู่ต่างประเทศ พร้อมกับจัดการแข่งขันรายการ “อีสต์ เอเชี่ยน มวยไทย แชมเปี้ยนชิพ 2023” โดยมีนักมวยไทยจาก 9 ชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกร่วมขึ้นสังเวียนชิงชัย ที่ควีน อลิซาเบธ สเตเดี้ยม เขตปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 23-26 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ให้เผยแพร่ไปสู่ระดับนานาชาติ และกำหนดมาตรฐานมวยไทย One Standard Muaythai (OSM) นำโดย ดร.ปัญญา หาญลำยวง คณะกรรมการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวมทั้ง ดร.เช้า วาทโยธา ครูมวยไทยนานาชาติชื่อดัง และ “กัปปิตัน เพชรยินดีอะคาเดมี” อนึ่ง คัฒมารศรี ยอดนักมวยไทยชื่อดัง และคณะ ร่วมเปิดคลินิกสอนทักษะมวยไทยให้กับผู้เข้ารับการอบรมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ซึ่งได้รับการตอบรับจากชมรม และสมาคมกีฬามวยไทยแห่งฮ่องกง ส่งนักกีฬามวยไทยเข้าร่วมอย่างคึกคัก
โครงการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยสู่ต่างประเทศ จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์กีฬามวยไทย ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้นในฮ่องกง โดยจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมมวยไทยสู่นานาชาติอย่างครบวงจร และสามารถต่อยอดสินค้ามวยไทยสู่ต่างประเทศได้อย่างแพร่หลาย ทั้งในรูปแบบสินค้า และบริการด้านมวยไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม อันเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นไทยสู่ฮ่องกง ส่งเสริมความนิยมไทย และความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จักทุกภูมิภาคของโลก โดยสามารถต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยว การค้าการลงทุนในประเทศไทย และอาหารไทย
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการกีฬา และนันทนาการบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมพัฒนากีฬา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างชื่อเสียง และเกียรติภูมิของประเทศ รวมถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรมกีฬา การท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อสร้างคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ดังนั้นสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทยที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมกีฬามวยอาชีพในการส่งเสริม และเผยแพร่กีฬามวยไทยอาชีพให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ รวมทั้งการส่งเสริมอุตสาหกรรมมวยไทยทั้งในรูปแบบสินค้า และบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยธุรกิจอุตสาหกรรมมวยไทย สร้างรายได้ให้บุคลากรมวยไทย จึงจัดโครงการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยในประเทศฮ่องกง ขึ้นเพื่อนำกีฬามวยไทยไปเผยแพร่ และยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง แบ่งออกเป็น กิจกรรมในช่วงเช้าเป็นการจัดเวิร์กช็อปเปิดคลินิกสอนทักษะมวยไทยให้กับผู้เข้ารับการอบรมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดย ดร.เช้า วาทโยธา ครูมวยไทยนานาชาติชื่อดัง และ “กัปปิตัน เพชรยินดีอะคาเดมี” อนึ่ง คัฒมารศรี ร่วมติวเข้มทักษะแม่ไม้มวยไทยให้กับผู้เข้ารับการอบรม จากนั้นในช่วงเย็นเป็นพิธีเปิดการแข่งขัน “อีสต์ เอเชี่ยน มวยไทย แชมเปี้ยนชิพ 2023” อย่างเป็นทางการ โดยมี สเตฟาน ฟ็อกซ์ เลขาธิการสหพันธ์สมาคมมวยไทยนานาชาติ (IFMA) พร้อมด้วย ปุย ควาน เกย์ ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมกีฬามวยไทยแห่งฮ่องกง, ซิน ลัม ยุก ประธานสมาคมกีฬามวยไทยแห่งฮ่องกง, ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวกับกีฬาของฮ่องกง และนักกีฬามวยไทย 9 จากชาติที่เข้าร่วมชิงชัย ประกอบด้วย บังกลาเทศ, อินเดีย, เกาหลีใต้, มองโกเลีย, มาเก๊า, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, จีน และฮ่องกง เจ้าภาพ เข้าร่วมในพิธีเปิดคำพูดจาก สล็อตทดลองเล่นฟรีถ
ในพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนี้ได้มีการแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทยโบราณ จากคณะลานนาไฟท์ติ้งมวยไทย นำโดย “ครูดิน” นายวิทวัส ค้าสม นำคณะนักมวยไทย ไปโชว์อัตลักษณ์มวยไทยที่เป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทย รวมทั้งการแสดงคีตะมวยไทย จากทีมมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ ทีมชนะเลิศจากการแข่งขันมวยไทยสมัครเล่นเยาวชนชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2566 ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานสุดตื่นตาตื่นใจ
สำหรับ ฮ่องกง ถือเป็นหนึ่งในมหาอำนาจมวยไทยของเอเชีย และเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหพันธ์สมาคมมวยไทยนานาชาติ (IFMA) ได้จัดการแข่งขันรายการ “อีสต์ เอเชี่ยน มวยไทย แชมเปี้ยนชิพ 2023” ที่ควีน อลิซาเบธ สเตเดี้ยม ซึ่งถือเป็นการแข่งขันมวยไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในมวยไทยสมัยใหม่ และยิ่งใหญ่ที่สุดที่จัดขึ้น ณ ฮ่องกง หลังจากรอคอยมา 3 ปี โดยจะเป็นการช่วยส่งเสริมมวยไทยให้ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมถึงการต่อสู้ และองค์ประกอบดั้งเดิม และการไหว้ครูมวยไทยคำพูดจาก สล็อตpg
สรุปผลการแข่งขันรายการ “อีสต์ เอเชี่ยน มวยไทย แชมเปี้ยนชิพ 2023” รอบแรก ดังนี้ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 45 กก.หญิง นามูอูนา อาร์เดเนบายาร์ (มองโกเลีย) ชนะอาร์เอสซียก 2 ทิเคสชวารี ซาฮู (อินเดีย), รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 48 กก.หญิง เพียว ลิง อึน (ฮ่องกง) ชนะคะแนน อูรานกู โอดอนทูยา (มองโกเลีย), รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 51 กก.หญิง ยูริกะ จิมโป (ญี่ปุ่น) ชนะคะแนน หลิว ซินเหอ (ไต้หวัน), รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 54 กก.ชาย จางฮุน ออน (เกาหลีใต้) ชนะคะแนน ฝ่าน กวงเจ้อ (จีน) และบาตดอร์จ ซูมิยาซูเรน (มองโกเลีย) ชนะคะแนน ฟาฮัด อนัคคายี่ (อินเดีย), รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 57 กก.ชาย หลี่ หยูหง (ไต้หวัน) ชนะคะแนน ดีพานคาร์ โบรา (อินเดีย)
รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 60 กก.ชาย บาตโบลด์ กานซูร์คห์ (มองโกเลีย) ชนะคะแนน บิดยาชานดรา ซิงห์ ไลชาห์ม และกวน เว่ยเฮา (มาเก๊า) ชนะอาร์เอสซียก 1 เฉิน เบาจอง (ไต้หวัน), รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 63.5 กก.ชาย อาเชม ทอนดอนบา ซิงห์ (อินเดีย) ชนะอาร์เอสซียก 1 ซู่ ยองจู (ไต้หวัน), รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 67 กก.ชาย ชุง เป่ยรง (ฮ่องกง) ชนะอาร์เอสซียก 1 หวง เจิ้งฉี (จีน), อี ซังมิน (เกาหลีใต้) ชนะคะแนน โมรัมบ้า ซาโกลเซ็ม (อินเดีย) หวง เหาหยวน (มาเก๊า) ชนะคะแนน บาต-อิตเกลต์ ชิจีร์บาตาร์ (มองโกเลีย), รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 70 กก.ชาย ลี่ จวนเซียน (ฮ่องกง) ชนะอาร์เอสซียก 2 เป่ง เวิ่นเบา (ไต้หวัน)