สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNOCD) เปิดเผยรายงานว่าอัฟกานิสถานได้กลายเป็นแหล่งผลิตยาบ้าที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก และยาบ้าในอัฟกานิสถานส่วนใหญ่ผลิตมาจากสารที่หาได้ตามกฎหมาย หรือสกัดจากต้นเอฟีดรา ซึ่งเติบโตขึ้นเองในป่า
รายงานของ UNOCD ยังระบุด้วยว่า การผลิตยาบ้าในอัฟกานิสถานถือเป็นภัยคุกคามทั้งต่อสุขภาพ และความมั่นคงในระดับชาติและระดับภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และสิ่งนี้อาจกระทบตลาดยาเสพติดสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี และทำให้มีผู้ติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นไปอีก
สมาชิก UN ผลักดันสนธิสัญญาหยุดใช้พลาสติกฉบับแรกของโลก
UN ชี้ความเท่าเทียมกันทางเพศคงต้องรออีก 300 ปี
สหประชาชาติ เตรียมถอนทุกภารกิจออกจากอัฟกานิสถาน
ทั้งนี้ UNOCD ระบุว่า มีรายงานจากสหภาพยุโรป และแอฟริกาตะวันออกว่า มีการยึดยาบ้าที่ต้องสงสัยว่าผลิตจากอัฟกานิสถานได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ยอดจากการยึดยาบ้าภายในอัฟกานิสถานเองก็เพิ่มสูงถึงอย่างมาก จากปี 2019 ซึ่งมีการตรวจยึดได้น้อยกว่า 100 กิโลกรัม แต่ปี 2021 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 2,700 กิโลกรัม
ปริมาณการตรวจยึดยาบ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัฟกานิสถาน บ่งชี้ให้เห็นถึงการผลิตยาบ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากภายในประเทศ แม้ว่า กลุ่มตาลีบัน ซึ่งปกครองอัฟนิสถานมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2021 ประกาศทำสงครามกับยาเสพติดก็ตาม
อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถประเมินมูลค่าของความต้องการยาบ้า รวมถึงปริมาณการผลิต หรือการเสพยาภายในประเทศได้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด
นอกเหนือจากการเป็นผู้ผลิตยาบ้าที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกแล้ว รายงานยังระบุด้วยว่า อัฟกานิสถานยังเป็นประเทศที่เป็นแหล่งผลิตฝิ่น และเฮโรฮีนรายใหญ่ของโลกด้วย เรียกได้ที่ว่านั่นเป็นอีกหนึ่งแหล่งการผลิตยาเสพติดที่สำคัญของโลก
ที่ผ่านมารัฐบาลตาลีบันแก้ปัญหายาเสพติดในอัฟกานิสถานอย่างไร?
อับดุล มาทีน กานี (Abdul Mateen Qani) โฆษกกระทรวงมหาดไทยของกลุ่มตาลีบันระบุว่า รัฐบาลตาลีบันได้สั่งห้ามการเพาะปลูก การผลิต การจำหน่าย และการใช้สารเสพติดและสารที่ทำให้เกิดอาการมึนเมาทั้งหมดในประเทศ
ขณะที่ทางการได้ทำลายโรงงานผลิตยาเสพติดไปแล้ว 644 แห่ง รวมถึงพื้นที่ปลูก แปรรูป หรือการผลิตยาเสพติดต้องห้ามอีกกว่า 30,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีการบุกทำลายสถานที่ผลิตยาเสพติดไปมากกว่า 5,000 ครั้ง และจับกุมผู้อยู่ในกระบวนการไป 6,000 คน
อย่างไรก็ตามโฆษกกระทรวงมหาดไทยของกลุ่มตาลีบันระบุว่า สิ่งรัฐบาลตาลีบันได้ลงมือทำไปแล้วยังไม่สามารถบอกได้ 100 % ว่า นี่ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามยาเสพติดในประเทศ เพราะผู้คนยังคงลักลอบทำกิจกรรมเหล่านี้ได้อย่างลับๆอยู่ และมันแถบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปราบปรามให้หมดสิ้นภายในระยะเวลาอันสั้น แต่เขาได้ย้ำว่ารัฐบาลตาลีบันมีแผนยุทธศาสตร์ปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะยาบ้าให้เสร็จสิ้นภายใน 4 ปีคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด 2024
ทำไมอัฟกานิสถานถึงยังไม่สามารถปราบปรามยาบเสพติด ยาบ้าได้สำเร็จ ?
Angela Me หัวหน้าฝ่ายวิจัย และการวิเคราะห์แนวโน้มของ UNODC เปิดเผยกับสำนักข่าว AP ว่า การผลิตยาบ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัฟกานิสถาน มีข้อได้เปรียบกว่าการผลิตเฮโรฮีน หรือโคเคน
ข้อได้เปรียบที่ว่าคือ การผลิตยาบ้าไม่จำเป็นต้องรอให้สารสกัดบางอย่างจากต้นไม้เติบโต และในอัฟกานิสถานเองไม่จำเป็นต้องมีที่ดินสำหรับปลูกต้นไม้เหล่านี้ พวกเขามีเพียงแค่คนที่มีความรู้เรื่องกรรมวิธีในการทำยาบ้า และสถานที่ปฏิบัติการปรุงยาแบบเคลื่อนที่ได้ ก็สามารถผลิตยาบ้าได้แล้ว
ส่วนสารสกัดผลิตยาบ้าก็หาได้ง่าย เพราะที่อัฟกานิสถานมีต้นเอฟีดรา ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ถูกกฏหมายเติบโตได้ทุกพื้นที่ในประเทศ และสิ่งเหล่านี้จะไม่พบ หรือเกิดขึ้นในประเทศที่เป็นผู้ผลิตยาบ้ารายใหญ่ที่สุด อย่างเมียนมา และเม็กซิโก ด้วยนอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องของเศรษฐกิจในประเทศที่หดตัวลงอย่างมาก ทำให้ผู้คนในอัฟกานิสถานต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองอยู่รอด
รายงานเมื่อปี 2022 ระบุว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดการค้ายาเสพติดที่ผิดกฏหมายในอัฟกานิสถานเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะผู้คนหันมาเพาะปลูก และค้ามนุษย์อย่างผิดกฏหมายเพื่อหารายได้ประทังชีวิต
รายงานของ UN ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ระบุว่า นับตั้งแต่กลุ่มตาลีบันยึดครองอัฟกานิสถาน พบว่ามีการปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้น 32 % จากปีก่อนหน้า
นอกจากนี้ยังพบราคาฝิ่นเพิ่มสูงขึ้น หลังจากรัฐบาลตาลีบันประกาศห้ามปลูกฝิ่นในเดือนเมษายนปี 2022 ขณะที่รายได้ของเกษตรกรจากการขายฝิ่นก็เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า จาก ปี 2021 อยู่ที่ 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2022
นอกจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจแล้ว ชาวอัฟกานิสถานกำลังเผชิญกับภัยแล้ง และในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมายังถูกซ้ำเติมจากสงคราม และภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามมา นับตั้งแต่กลุ่มตาลีบันยึดครองกรุงคาบูล การจัดหาเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจจากรัฐบาลชุดก่อนหน้าที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกก็หยุดชะงักงันด้วยเช่นกัน
เหล่านี้คือสิ่งที่กำลังผลักดันให้ชาวอัฟกานิสถานเข้าสู่ภาวะความยากจน ความหิวโหย และก้าวเข้าสู่วงเวียนของการเสพยาเสพติด
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของอัฟกานิสถานรายหนึ่ง ระบุว่า เวลานี้มีชาวอัฟกานิสถานประมาณ 20,000 คนเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เนื่องจากติดยาเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่ติดเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นยากระตุ้นประสาทชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์รุนแรงในรูปแบบผลึกใส และในบรรดาผู้ป่วยเหล่านี้เป็นผู้หญิง 350 คน และมีเด็กด้วย แต่ไม่สามารถเปิดเผยจำนวน หรืออายุของคนกลุ่มนี้ได้